วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การทริปของเบรคเกอร์

Q : เซอร์กิตเบรคเกอร์ (CB) ทำงานอย่างไร

A : การทำงานของ CB จะแบ่งเป็นสองฟังก์ชั่นการทำงาน คือ Termal Trip และ Magnetic Trip

๐ Thermal unit ใช้สำหรับปลดวงจรเมื่อมีกระแสไหลอันเนื่องมาจาก การใช้โหลดมากเกินไป เมื่อมีกระแสไหลเกินไหลผ่านโลหะ bimetal (เป็นโลหะ 2 ชนิด ที่มีสัมประสิทธิ์ทางความร้อนไม่เท่ากัน) จะทำให้ bimetal โก่งตัวไปปลดอุปกรณ์ทางกล และทำให้ CB. ตัดวงจร เรียกว่าเกิดการ Trip การปลดวงจรแบบนี้ต้องอาศัยเวลาพอสมควร ขึ้นอยู่กับกระแสขณะนั้น และความร้อนที่เกิดขึ้น จนทำให้ bimetal โก่งตัว

๐ Magnetic unit ใช้สำหรับปลดวงจรเมื่อเกิดกระแสลัดวงจรหรือมี กระแสค่าสูงๆ ประมาณ 5-10 เท่าขึ้นไปไหลผ่าน (แล้วแต่ชนิดและรุ่น) กระแสจำนวนมากจะทำให้เกิด สนามแม่เหล็กความเข้มสูง ดึงให้อุปกรณ์การปลดวงจรทำงานได้ การตัดวงจรแบบนี้เร็วกว่าแบบแรกมาก


------------------------------------------------------


ทั้ง MCB และ MCCB จะมีฟังก์ชั่นการทำงาน สองสถานะ คือ Termal contrac trip กับ Magenic Trip






------------------------------------------------------


แต่ ACB จะมีฟังก์ชั่นการตัดวงจร โดยใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์โดยใน ACB จะมี CT อยู่ข้างใน ขั้วละตัวทำหน้าที่วัดกระแสไฟฟ้าแล้วนำมาประมวลผล






------------------------------------------------------


ดูจาก curve สมมุติ CB 100 AT จะไม่มีวันตัดที่กระแส 100 แอมป์ แล้วทำไมการคำนวณหาขนาด CB ถึงยังต้องให้คูณ 1.25 เผื่อให้สูงขึ้นไปอีก จากกระแสที่คำนวนได้




------------------------------------------------------


ตามมาตรฐานเบรคเกอร์ปัจจุบันผลิตตามาตรฐานของ IEC ซึ่งกำหนดไว้ว่า การที่เบรคเกอร์จะตัดที่สภาวะกระแสเกิน (Overload) จะไม่ใช่เกิดปุ๊บตัดปั๊บ Thermal contrac trip จำทำงานตามเงื่อนไขของความร้อน ต้องรอให้มันร้อน กระแสไหลมากก็จะร้อนมาก และจะตัดเร็วขึ้น แต่ถ้าเกิดลัดวงจร (Short circuit) อันนี้จะตัดด้วย Magnetic trip จะเร็วมาก





โดยในมาตรฐาน IEC60947-2 ที่เป็นมาตรฐานในการผลิตเบรคเกอร์ MCCB กำหนดค่ากระแสไว้ที่อุณหภูมิ 40 องศา (ซึ่งเป็นอุณหภูมิโดยรอบของห้อง)


------------------------------------------------------


เช่นหากเบรคเกอร์ MCCB 100A มีกระแสเกิน 105% (105A) จะใช้เวลาในการตัดมากกว่า 120นาที และถ้ากระแสเกิน 200% (200A) จะใช้เวลาตัดไม่เกิน8นาที




ทีนี้เมื่อเอาเบรคเกอร์มาใส่ หรือติดตั้งในห้องหรือตู้ที่มีอุณหภูมิ 50 องศา เบรคเกอร์ตัวดังกล่าวจะมีขนาดกระแสที่จะตัดต่ำลงเรียกว่า Derated ลงมาเป็น 90% ตามกราฟในรูป


คือเบรคเกอร์พิกัด100AT เมื่อมีกระแสเกิน 105A จะมีค่า Derated ลงมาเป็น 105 x 0.9 = 94.5A จะตัดภายใน 120 นาที และถ้ากระแสเกิน 130A ก็จะมีค่ากระแสในการตัดที่ 130 x 0.9 = 117A จะตัดในเวลาไม่เกิน 120 นาที ซึ่งก็มีค่าใกล้เคียงกับขนาดพิกัด CB ที่เราเลือก 100A อยู่แล้ว 


------------------------------------------------------


อีกเหตุผลที่จะอธิบายใน มาตรฐาน CB ของ Schneider บอกว่า หากเอา CB มาใส่ในตู้และมี CB หลายตัวนั้น ค่า Derated ของ CB จะลดลงเป็น 80% เนื่องจากอุณหภูมิ ดดยรวมและความร้อนของ CB ทุกตัวในตู้






ดังนั้นการที่เราคูณ 1.25 เผื่อที่ CB ตามมาตรฐานของ NEC กำหนดว่า CB จ่ายโหลดต่อเนื่องนั้น เมื่อเอา 100A x 1.25 x 0.8 ก็จะเท่ากับ 100A เช่นเดิมนะ


อย่าสงสัยว่าเวลาที่เบรคเกอร์มีกระแสไหลเกินพิกัดแล้วทำไมยังไม่ทรปซักที มันรอเวลาให้ร้อนก่อน

แล้วถามว่าสายไฟจะทนได้ไหม จริงๆแล้วสายไฟก็มี factor ที่มาตรฐานเผื่อมาให้เราใช้แล้วดังนั้น ด้วยเหตุผลเดียวกันค่ากระแสในตารางจึงเป็นแค่ค่าประมาณ หรือ Derate ลงมาตาม factor แล้ว


------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น