วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

หนังสือ คำแนะนำการก่อสร้างระบบเคเบิลใต้ดินสำหรับหมู่บ้านจัดสรร

แจก หนังสือ "คำแนะนำการก่อสร้างระบบเคเบิลใต้ดินสำหรับหมู่บ้านจัดสรร" กฟภ.




เป็นแนวทางสำหรับการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในบริเวณพื้นที่จัดสรรเป็นระบบเคเบิลใต้ดิน เพื่อความสวยงามของพื้นที่ และเพิ่มความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้า โดยได้นำข้อกำหนดต่างๆ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่เกี่ยวกับการออกแบบ ติดตั้ง แบบมาตรฐาน รวมทั้งรายละเอียกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่สำคัญๆ ที่นำมาใช้งาน

เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ขอใช้ไฟฟ้า รวมทั้งหน่วยงานภายในการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ยึดถือเป็นแนวทางเดียวกัน


------------------------------------------------------


บทที่ 1      ข้อกำหนดทั่วไป

บทที่ 2      ระบบการจ่ายไฟ

บทที่ 3      อุปกรณ์ในระบบเคเบิลใต้ดินแรงสูง

บทที่ 4      หม้อแปลงและอุปกรณ์ป้องกัน

บทที่ 5      อุปกรณ์ในระบบเคเบิลใต้ดินแรงต่ำ

บทที่ 6      รายละเอียดเพิ่มเติมในการออกแบบระบบไฟฟ้า

บทที่ 7      การทดสอบท่อร้อยสาย และการร้อยสายเคเบิลใต้ดิน

บทที่ 8      เอกสารที่ใช้ประกอบการขอใช้ไฟฟ้า

ภาคผนวก  แบบมาตรฐานการก่อสร้างระบบเคเบิลใต้ดิน


------------------------------------------------------


ผู้พัฒนา : กองมาตรฐานระบบไฟฟ้า ฝ่ายมาตรฐานและความปลอดภัย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ขนาดไฟล์ : 11.2 MB

ประเภทไฟล์ : PDF








*** คลิกที่นี่ เพื่อ "ดาวน์โหลด"
*** คลิกที่นี่ เพื่อ "ดาวน์โหลด"
*** คลิกที่นี่ เพื่อ "ดาวน์โหลด"
*** คลิกที่นี่ เพื่อ "ดาวน์โหลด"
*** คลิกที่นี่ เพื่อ "ดาวน์โหลด"
*** คลิกที่นี่ เพื่อ "ดาวน์โหลด"


------------------------------------------------------


วิธีดาวน์โหลด

         ในการดาวน์โหลดนั้นจะติดโฆษณา "ป็อปอัพ" 1ชั้น ทำให้กดปุ่มครั้งแรกจะเด้งไปเว็บอื่น ให้กดลิ้งค์นั้นอีกเป็นครั้งที่ 2 จึงจะไปที่ลิงค์โหลด ซึ่งครอบลิ้งค์ไว้ 1 ชั้น

ขั้นตอนที่1 หากใครใช้ ส่วนขยาย "AdBlock" ให้ปิดก่อนนะครับ




 ขั้นตอนที่2  ติ๊กถูกในช่อง "I'm not a robot"




 ขั้นตอนที่3  คลิกที่ ปุ่ม ชื่อว่า "Click hear to continue"




ขั้นตอนที่4  รอนับถอยหลัง "10วินาที"




ขั้นตอนที่5  คลิกที่ ปุ่ม ชื่อว่า "Get Link"




ขั้นตอนที่6  คลิกที่ ปุ่ม ชื่อว่า "Download"




------------------------------------------------------


วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

บ้านเราในเขต กฟน.,กฟภ. มีแรงดันเท่าไหร่กันแน่













------------------------------------------------------




Q : ไฟแรงต่ำ 3เฟส ในพื้นที่ กทม. เราควรคิดที่ 416V รึป่าว?

A : คิดทั้งหมดเป็น 400V เท่า กฟภ.


------------------------------------------------------


1) แรงดันนอมินอล ( Norminal Voltage ) หมายถึง ระดับแรงดันไฟฟ้าของระบบ เช่น 220V หรือ 380V

2) แรงดันใช้งาน ( Operating Voltage ) หมายถึง ระดับแรงดันไฟฟ้าของระบบที่วัดได้ขณะที่กำลังทำงาน หรือใช้งานในขณะ      
    นั้น เช่น 232V หรือ 405V

3) แรงดันที่กำหนด ( Rate Voltage ) หมายถึง ระดับแรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไว้ให้ใช้ เช่น 230/400V (กฟภ.) 
    หรือ 240/416V (กฟน.)


------------------------------------------------------

การทริปของเบรคเกอร์

Q : เซอร์กิตเบรคเกอร์ (CB) ทำงานอย่างไร

A : การทำงานของ CB จะแบ่งเป็นสองฟังก์ชั่นการทำงาน คือ Termal Trip และ Magnetic Trip

๐ Thermal unit ใช้สำหรับปลดวงจรเมื่อมีกระแสไหลอันเนื่องมาจาก การใช้โหลดมากเกินไป เมื่อมีกระแสไหลเกินไหลผ่านโลหะ bimetal (เป็นโลหะ 2 ชนิด ที่มีสัมประสิทธิ์ทางความร้อนไม่เท่ากัน) จะทำให้ bimetal โก่งตัวไปปลดอุปกรณ์ทางกล และทำให้ CB. ตัดวงจร เรียกว่าเกิดการ Trip การปลดวงจรแบบนี้ต้องอาศัยเวลาพอสมควร ขึ้นอยู่กับกระแสขณะนั้น และความร้อนที่เกิดขึ้น จนทำให้ bimetal โก่งตัว

๐ Magnetic unit ใช้สำหรับปลดวงจรเมื่อเกิดกระแสลัดวงจรหรือมี กระแสค่าสูงๆ ประมาณ 5-10 เท่าขึ้นไปไหลผ่าน (แล้วแต่ชนิดและรุ่น) กระแสจำนวนมากจะทำให้เกิด สนามแม่เหล็กความเข้มสูง ดึงให้อุปกรณ์การปลดวงจรทำงานได้ การตัดวงจรแบบนี้เร็วกว่าแบบแรกมาก


------------------------------------------------------


ทั้ง MCB และ MCCB จะมีฟังก์ชั่นการทำงาน สองสถานะ คือ Termal contrac trip กับ Magenic Trip






------------------------------------------------------


แต่ ACB จะมีฟังก์ชั่นการตัดวงจร โดยใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์โดยใน ACB จะมี CT อยู่ข้างใน ขั้วละตัวทำหน้าที่วัดกระแสไฟฟ้าแล้วนำมาประมวลผล






------------------------------------------------------


ดูจาก curve สมมุติ CB 100 AT จะไม่มีวันตัดที่กระแส 100 แอมป์ แล้วทำไมการคำนวณหาขนาด CB ถึงยังต้องให้คูณ 1.25 เผื่อให้สูงขึ้นไปอีก จากกระแสที่คำนวนได้




------------------------------------------------------


ตามมาตรฐานเบรคเกอร์ปัจจุบันผลิตตามาตรฐานของ IEC ซึ่งกำหนดไว้ว่า การที่เบรคเกอร์จะตัดที่สภาวะกระแสเกิน (Overload) จะไม่ใช่เกิดปุ๊บตัดปั๊บ Thermal contrac trip จำทำงานตามเงื่อนไขของความร้อน ต้องรอให้มันร้อน กระแสไหลมากก็จะร้อนมาก และจะตัดเร็วขึ้น แต่ถ้าเกิดลัดวงจร (Short circuit) อันนี้จะตัดด้วย Magnetic trip จะเร็วมาก





โดยในมาตรฐาน IEC60947-2 ที่เป็นมาตรฐานในการผลิตเบรคเกอร์ MCCB กำหนดค่ากระแสไว้ที่อุณหภูมิ 40 องศา (ซึ่งเป็นอุณหภูมิโดยรอบของห้อง)


------------------------------------------------------


เช่นหากเบรคเกอร์ MCCB 100A มีกระแสเกิน 105% (105A) จะใช้เวลาในการตัดมากกว่า 120นาที และถ้ากระแสเกิน 200% (200A) จะใช้เวลาตัดไม่เกิน8นาที




ทีนี้เมื่อเอาเบรคเกอร์มาใส่ หรือติดตั้งในห้องหรือตู้ที่มีอุณหภูมิ 50 องศา เบรคเกอร์ตัวดังกล่าวจะมีขนาดกระแสที่จะตัดต่ำลงเรียกว่า Derated ลงมาเป็น 90% ตามกราฟในรูป


คือเบรคเกอร์พิกัด100AT เมื่อมีกระแสเกิน 105A จะมีค่า Derated ลงมาเป็น 105 x 0.9 = 94.5A จะตัดภายใน 120 นาที และถ้ากระแสเกิน 130A ก็จะมีค่ากระแสในการตัดที่ 130 x 0.9 = 117A จะตัดในเวลาไม่เกิน 120 นาที ซึ่งก็มีค่าใกล้เคียงกับขนาดพิกัด CB ที่เราเลือก 100A อยู่แล้ว 


------------------------------------------------------


อีกเหตุผลที่จะอธิบายใน มาตรฐาน CB ของ Schneider บอกว่า หากเอา CB มาใส่ในตู้และมี CB หลายตัวนั้น ค่า Derated ของ CB จะลดลงเป็น 80% เนื่องจากอุณหภูมิ ดดยรวมและความร้อนของ CB ทุกตัวในตู้






ดังนั้นการที่เราคูณ 1.25 เผื่อที่ CB ตามมาตรฐานของ NEC กำหนดว่า CB จ่ายโหลดต่อเนื่องนั้น เมื่อเอา 100A x 1.25 x 0.8 ก็จะเท่ากับ 100A เช่นเดิมนะ


อย่าสงสัยว่าเวลาที่เบรคเกอร์มีกระแสไหลเกินพิกัดแล้วทำไมยังไม่ทรปซักที มันรอเวลาให้ร้อนก่อน

แล้วถามว่าสายไฟจะทนได้ไหม จริงๆแล้วสายไฟก็มี factor ที่มาตรฐานเผื่อมาให้เราใช้แล้วดังนั้น ด้วยเหตุผลเดียวกันค่ากระแสในตารางจึงเป็นแค่ค่าประมาณ หรือ Derate ลงมาตาม factor แล้ว


------------------------------------------------------

พิกัดอุณหถูมิเบรคเกอร์ทนได้

คำถาม 

CIRCUIT BREAKER บริเวณขั้ว Terminal ต่อสาย CB ชนิด MCCB สามารถทนอุณหภูมิได้กี่องศา? เช่น สาย CV (IEC 60502-1) ฉนวนเป็น PE ทนอุณหภูมิได้ 90 องศา ตัว Terminal CB สามรถรับได้สูงสุดกี่องศา? และเวลานานเท่าไหร่?

ตอบ


          เรื่องอุณหภูมิของฉนวนสาย CV ที่บอกว่าเมื่อมีกระแสเต็มพิกัดที่ Air Free จะมีอุณหภูมิที่ 90 องศานั้น ปกติเราจะ Derated กระแสพิกัดลงมาประมาณ 70% ซึ่งในสภาวะนั้นจะไม่ทำให้อุณหภูมิของสายสูงถึง 90 องศา
และในการดูว่าเบรคเกอร์ทนอุณหภูมิได้เท่าไหร่ หรือหากเราส่องกล้องแล้วอุณหภูมิที่ออกมามีค่าเท่าไหร่ ถึงจะทำให้ CB เสียหายจะต้องดู Temp rise ของ CB โดยจะระบุตำแหน่งต่างๆไว้ว่าจะต้องไม่เกินเท่าไหร่ โดยเรา Temp rise ในตาราง บวกด้วย อุณหภูมิโดยรอบ หากเกินถือว่าต้องแก้ไข ขั้นต้นอาจจะหลวมหรือเบรคเกอร์หน้าสัมผัสไม่ดี


------------------------------------------------------


         อันนี้เป็นตาราง Mitsubishi ซึ่งทดสอบตามมาตรฐาน IEC ใช้ได้กับทุกยี่ห้อ โดยเอาค่าอุณหภูมิในตาราง บวกอุณหภูมิโดยรวม นั่นคือพิกัดอุณหภูมิที่เบรคเกอร์ทนได้








------------------------------------------------------

Typical Form Separation ของตู้ MDB


Typical Form Separation

Form ตู้ตามมาตรฐาน IEC60439-1 (เก่า) และ IEC61439-2 (ใหม่)

• Form ตู้คือคุณลักษณะหรือรูปแบบการแบ่งกั้นแยกส่วนที่มีไฟฟ้า (Live Part) หรือส่วนที่เป็นอันตราย โดยใช้ Partitions กั้นแยกระหว่างอุปกรณ์หลักอย่างชัดเจน

• Form ตู้จะมีคุณสมบัติในการลดโอกาศการเกิดความผิดปกติ (Fault) อีกทั้งยังเป็นการจำกัดขอบเขต (Limit Fault) ที่อาจเกิดขึ้นไม่ให้ลุกลามไปยังช่องอื่นๆได้ภายในตู้สวิตซ์บอร์ด

ซึ่งการแยกส่วนภายในตู้จะพิจารณาดังนี้
- บัสบาร์
- อุปกรณ์หลัก
- ขั้วต่อสาย
- ตัวตู้

โดยมีการกำหนดรูปแบบการจัดส่วนกั้นของตู้ไว้ 7 ประเภท คือ
1) Form 1
2) Form 2a
3) Form 2b
4) Form 3a
5) Form 3b
6) Form 4a
7) Form 4b

------------------------------------------------------


Form 1
- ภายในตู้สวิตซ์บอร์ดจะไม่มีการกั้นช่องแบ่งแยกบัสบาร์ออกจากอุปกรณ์และขั่วต่อสายตัวนำภายนอกออกจากัน (คือในตู้ไม่มีส่วนกั้นเลย เปิดโปร่งถึงกันทุกส่วน)
- ตู้ Form นี้เหมาะกับงานควบคุมโหลดเฉพาะจุด
- กรณีเกิด Fault ขึ้นอาจจะได้รับความเสียหายทั้งหมด
- ต้องใช้เวลาในการซ่อมนานหรือเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด

------------------------------------------------------

Form 2a
- มี Partition กั้นแยกระหว่างช่องบัสบาร์ออกจากตัวอุปกรณ์ (Outgoing unit)
- แต่สำหรับขั้วต่อสายตัวนำภายนอก (Terminal for External Conductor) จะอยู่ภายในช่องเดียวกันกับบัสบาร์
- ตู้ Form นี้เหมาะกับงานควบคุมโหลดเฉพาะจุด และเริ่มนำมาประยุกต์ใช้เป็นตู้ Main DB ย่อย
- เหมาะกับงานอาคารที่มีโหลดไม่มากนัก ยอมรับได้ที่ต้องดับไฟทั้งตู้ เมื่อโหลดใด โหลดหนึ่งมีปัญหา
- กรณีเกิด Fault ขึ้นอาจจะได้รับความเสียหายบางส่วน เช่น บัสบาร์กับขั่วต่อสาย, อุปกรณ์ย่อย
- ต้องใช้เวลาในการซ่อมนานหรือเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด

------------------------------------------------------

Form 2b
- มี Partition กั้นแยกระหว่างช่องบัสบาร์ออกจากตัวอุปกรณ์ (Outgoing unit) และขั้วต่อสายตัวนำภายนอก (Terminal for External Conductor)
- แต่อุปกรณ์และขั่วต่อสายจะอยู่ภายในช่องเดียวกันโดยไม่มีการแบ่งกั้น
- ตู้ Form นี้เหมาะกับงานควบคุมโหลดเฉพาะจุด และเริ่มนำมาประยุกต์ใช้เป็นตู้ Main MDB
- เหมาะกับงานอาคารที่มีโหลดไม่มากนัก ยอมรับได้ที่ต้องดับไฟทั้งตู้ เมื่อโหลดใด โหลดหนึ่งมีปัญหา
- กรณีเกิด Fault ขึ้นอาจจะได้รับความเสียหายบางส่วน เช่น บัสบาร์กับขั่วต่อสาย, อุปกรณ์ย่อยในช่องเดียวกัน
- ต้องใช้เวลาในการซ่อมนานหรือเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด
- แต่มีความปลอดภัยสูงขึ้นกว่า Form 2a

------------------------------------------------------

Form 3a
- มี Partition กั้นแยกระหว่างช่องบัสบาร์ออกจากตัวอุปกรณ์ (Outgoing unit)
- มี Partition กั้นแยกอุปกรณ์ (Outgoing unit) แต่ละ Unit ออกจากกัน
- มี Partition กั้นแยกขั่วต่อสายตัวนำภายนอก (Terminal for External Conductor) ออกจากอุปกรณ์ (Outgoing unit) แต่จะอยู่ภายในช่องเดียวกัยกับบัสบาร์
- ตู้ Form นี้เหมาะกับงานควบคุมโหลดแบบต่อเนื่อง
- เหมาะกับงานอาคาร โรงงาน ที่มีโหลดมาก
- ไม่ต้องดับไฟทั้งตู้ เมื่อโหลดใด โหลดหนึ่งมีปัญหา
- กรณีเกิด Fault ขึ้นอาจจะได้รับความเสียหายบ้างส่วนเท่านั้น
- ใช้เวลาในการซ่อมน้อยหรืออาจจะไม่ต้องเปลี่ยน เพียงตรวจสอบแก้ไขก็สามารถจ่ายไฟได้ตามปกติ

------------------------------------------------------

Form 3b
- มี Partition กั้นแยกระหว่างช่องบัสบาร์ออกจากตัวอุปกรณ์ (Outgoing unit)
- มี Partition กั้นแยกอุปกรณ์ (Outgoing unit) แต่ละ Unit ออกจากกัน
- มี Partition กั้นแยกขั่วต่อสายตัวนำภายนอก (Terminal for External Conductor) ออกจากบัสบาร์และอุปกรณ์ (Outgoing unit) แต่ขั่วต่อสายดังกล่าวจะอยู่ภายในช่องเดียวกัน
- ตู้ Form นี้เหมาะกับงานควบคุมโหลดแบบต่อเนื่อง
- เหมาะกับงานอาคาร โรงงาน โรงไฟฟ้า อุตสหกรรมยานยนต์ ปิโตรเคมี และอื่นๆ ที่มีโหลดมาก
- ไม่ต้องดับไฟทั้งตู้ เมื่อโหลดใด โหลดหนึ่งมีปัญหา
- กรณีเกิด Fault ขึ้นอาจจะได้รับความเสียหายบ้างส่วนเท่านั้น
- ใช้เวลาในการซ่อมน้อยหรืออาจจะไม่ต้องเปลี่ยน เพียงตรวจสอบแก้ไขก็สามารถจ่ายไฟได้ตามปกติ

------------------------------------------------------

Form 4a
- มี Partition กั้นแยกอุปกรณ์ (Outgoing unit) แต่ละ Unit ออกจากกัน
- มี Partition กั้นแยกขั่วต่อสายตัวนำภายนอก (Terminal for External Conductor) ออกจากบัสบาร์ แต่ขั่วต่อสายดังกล่าวจะอยู่ภายในช่องเดียวกันอุปกรณ์
- มี Partition แยกระหว่างอุปกรณ์ออกจากบัสบาร์
- มี Partition แยกส่วนสำหรับตัวนำภายนอก (Terminal for External Conductor) แต่ละชุดออกจากัน

------------------------------------------------------

Form 4b
- มี Partition กั้นแยกอุปกรณ์ (Outgoing unit) แต่ละ Unit ออกจากกัน
- มี Partition แยกระหว่างอุปกรณ์ออกจากบัสบาร์
- มี Partition กั้นแยกขั่วต่อสายตัวนำภายนอก (Terminal for External Conductor) ออกจากบัสบาร์ และอุปกรณ์ (Outgoing unit) และแยก Feeder ออกจากกันอย่างชัดเจน

------------------------------------------------------

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Rong-Kluea-Market สินค้าที่ตลาดโรงเกลือมาจากไหนบ้าง

                ขึ้นชื่อว่าสินค้ามือสองและของก๊อบเกรดAแล้ว การจะมีสินค้าแค่จากกัมพูชาและไทยเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย แต่สินค้าจำนวนมหาศาลที่ขายอยู่ในตลาดโรงเกลือนั้นมาจากที่ไหน คงเป็นคำถามที่ใครบางคนสงสัยแน่นอน เรามาดูกันดีกว่าว่า สินค้าชนิดต่างๆ มาจากที่ไหนบ้าง
           


                 สินค้าประเภท เสื้อผ้า, เสื้อกันหนาว, เสื้อทหาร, ชุดลายพราง ส่วนใหญ่แล้วมาจากญี่ปุ่น, แคนนาดา, เกาหลี และปากีสถาน


                 สินค้าประเภท กระเป๋า, แว่นตา, นาฬิกา(ของใหม่), เครื่องใช้ไฟฟ้า, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนใหญ่แล้วมาจากจีนและเวียดนาม


                 สินค้าประเภท รองเท้า, เข็มขัด ส่วนใหญ่แล้วมาจากเกาหลี, ญี่ปุ่น และฮ่องกง


                 สินค้าประเภท อุปกรณ์เดินป่า ส่วนใหญ่แล้วมาจากปากีสถาน, แคนาดา, อเมริกา และสิงคโปร์


                 สินค้าประเภท ปลาสดปลาแห้ง, ปลากรอบ, กบ, กุ้ง, แมลงชนิดต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วมาจากกัมพูชา


                 สินค้าประเภท เบ็ดตกปลา, เครื่องครัว, ถ้วยชามต่างๆ, ผัก/ผลไม้, ส่วนใหญ่แล้วมาจากจีน


                 สินค้าประเภท อุปกรณ์ประดับยนต์ ส่วนใหญ่แล้วมาจากใต้หวัน


                 สินค้าประเภท ไม้แกะสลัก, โต๊ะมุก ส่วนใหญ่แล้วมาจากเวียดนาม

Rong-Kluea-Market เทคนิคเลือกสินค้าที่ตลาดโรงเกลือ


              ++ควรไปถึงแต่เช้า++ เนื่องจากตลาดโรงเกลือมีขนาดใหญ่มากแถมคนที่มาซื้อของหรือท่องเที่ยวก็เยอะมาก ยิ่งตอนบ่ายๆ ในตลาดรถก็จะติดมาก ถ้าเราต้องการเที่ยวแบบสบายๆ จริงๆ ควรออกจากที่พักและเดินทางไปถึงตลาดโรงเกลือตอนหกโมงถึงเจ็ดโมงเช้า เพราะช่วงนั้นคนจะน้อย จากนั้นค่อยเช่ารถกอล์ฟขับชมตลาดไปรอบหนึ่งก่อน เพราะตอนเช้าคนที่มาท่องเที่ยวยังน้อย การจราจรไม่ติดขัด ขับง่าย คล่องตัว พอรับชมตลาดจนทั่วแล้ว ก็เลือกพื้นที่ว่าจะซื้อสินค้าอะไร แล้วก็ค่อยไปที่พื้นที่นั้นๆ และควรรีบซื้อของที่ต้องการในพื้นที่นั้นๆ ให้เสร็จในครึ่งวันเช้า เพราะเมื่อบ่ายแล้วคนก็จะเยอะ


               ++ตาดีได้ตาร้ายเสีย++ งานนี้ต้องเรียกว่าประสบการณ์สูงเท่านั้นถึงจะช่วยได้จริงๆ


               ++สินค้าเหมือนกันอาจราคาต่างกัน++ สินค้าที่โรงเกลือมีมากจริงๆ ซึ่งสินค้าบางประเภทเรียกได้ว่าเหมือนกันไปซะหมด ดังนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่เราจะเห็นว่า สินค้าชนิดเดียวกันแต่คนละร้านกลับมีราคาต่างกัน การเลือกซื้อเราจิงจำเป็นต้องเดินดูหลายๆร้านก่อนตัดสินใจว่า จะเลือกซื้อสินค้าชิ้นนั้นๆที่ร้านไหน (ที่ให้ราคาถูกที่สุด)

เรื่องต้องรู้หากซื้อของจากโรงเกลือ

 ถ้าคุณคิดจะซื้อของจากตลาดโรงเกลือมาขาย มีเรื่องอะไรที่คุณควรรู้หรือคำนึงบ้าง

              - สินค้าแบรนด์เนมส่วนมากแล้วที่ตลาดโรงเกลือจะเป็นสินค้ามือหนึ่ง แต่ต้องระมัดระวังในเรื่องของลิขสิทธิ์ด้วย เพราะถ้าถูกจับ โอกาสเสียค่าปรับและติดคุกก็เกิดขึ้นได้

               - สินค้าประเภทเสื้อผ้าถึงจะเป็นสินค้ามือหนึ่งก็จริง แต่คุณภาพยังสู้ประตูน้ำหรือตลาดจตุจัตรตอนคืนวันศุกร์ไม่ค่อยได้

               - วางแผนการเดินทางและตั้งเป้าหมายว่าจะเอาสินค้าอะไรมาขาย เพราะถึงแม้ว่าเราจะไม่เคยไปตลาดโรงเกลือ แต่อย่างหนึ่งที่ต้องรู้ไว้ก็คือ ตลาดโรงเกลือนั้นใหญ่มาก ถ้าคิดว่าจะไปเดินหาสินค้าเองแล้วแหละก็ อาจจะหลงไปเสียเวลาเปล่าๆ ก็เป็นได้

               - อย่าคิดว่าไปแค่ครั้งเดียวแล้วจะได้สินค่าที่ต้องการในราคาที่ถูกใจเลย ก็อย่างที่บอกไปแล้วว่า ตลาดมันกว้างมาก มันจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะเจอสินค้าที่ต้องการในราคาที่ถูกใจได้ภายในวันเดียว หากต้องการไปซื้อสินค้าด้วยตัวเองที่ตลาดโรงเกลือแล้วจริงๆ ควรมีเวลาอย่างน้อย 2-3 วัน เพื่อที่จะวางแผนในการซื้อสินค้า

               - หากคิดที่จะซื้อของก็ต้องลองถามหลายๆร้าน เพราะถ้าไม่ถามอาจโดนโก่งราคาได้ และการขายเสื้อผ้าที่นี่ก็มีทั้งแบบขายเป็นตัวและขายแบบเหมาโหลเหมามัดแนะนำให้ซื้อเป็นตัวดีกว่าซื้อเป็นมัด เพราะอาจถูกยัดของไม่ดีรวมมาด้วยก็ได้
             
               - พ่อค้าแม่ค้าที่ตลาดโรงเกลือส่วนหนึ่งเป็นคนกัมพูชา ดังนั้นหากต้องการซื้อสินค้าก็ควรจะใจเย็นๆ

               - สินค้าที่ตลาดโรงเกลือมีทั้งข้อดีและไม่ดีปะปนกันไป การจะเลือกให้ได้ของดีตรงตามที่เราต้องการอาจทำได้ยาก วิธีแก้ปัญหาตรงนี้อาจใช้วิธีการติดต่อกับผู้ขายขายสินค้าที่ตลาดโรงเกลือผ่านเครือข่ายสังคมอย่าง Facebook ซึ่งบางคนอาจจะกังวลว่าจะถูกโกง ซึ่งเรื่องนี้ไม่มีเลยครับ จากเหตุการที่ผ่านมากลับกลายเป็นว่า ร้านค้ามักเป็นฝ่ายถูกคนสั่งของโกงไม่ยอมจ่ายเงิน หรือบางครั้งก็จ่ายช้ามากกว่าครับ