วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

หนังสือ คำแนะนำการก่อสร้างระบบเคเบิลใต้ดินสำหรับหมู่บ้านจัดสรร

แจก หนังสือ "คำแนะนำการก่อสร้างระบบเคเบิลใต้ดินสำหรับหมู่บ้านจัดสรร" กฟภ.




เป็นแนวทางสำหรับการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในบริเวณพื้นที่จัดสรรเป็นระบบเคเบิลใต้ดิน เพื่อความสวยงามของพื้นที่ และเพิ่มความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้า โดยได้นำข้อกำหนดต่างๆ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่เกี่ยวกับการออกแบบ ติดตั้ง แบบมาตรฐาน รวมทั้งรายละเอียกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่สำคัญๆ ที่นำมาใช้งาน

เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ขอใช้ไฟฟ้า รวมทั้งหน่วยงานภายในการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ยึดถือเป็นแนวทางเดียวกัน


------------------------------------------------------


บทที่ 1      ข้อกำหนดทั่วไป

บทที่ 2      ระบบการจ่ายไฟ

บทที่ 3      อุปกรณ์ในระบบเคเบิลใต้ดินแรงสูง

บทที่ 4      หม้อแปลงและอุปกรณ์ป้องกัน

บทที่ 5      อุปกรณ์ในระบบเคเบิลใต้ดินแรงต่ำ

บทที่ 6      รายละเอียดเพิ่มเติมในการออกแบบระบบไฟฟ้า

บทที่ 7      การทดสอบท่อร้อยสาย และการร้อยสายเคเบิลใต้ดิน

บทที่ 8      เอกสารที่ใช้ประกอบการขอใช้ไฟฟ้า

ภาคผนวก  แบบมาตรฐานการก่อสร้างระบบเคเบิลใต้ดิน


------------------------------------------------------


ผู้พัฒนา : กองมาตรฐานระบบไฟฟ้า ฝ่ายมาตรฐานและความปลอดภัย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ขนาดไฟล์ : 11.2 MB

ประเภทไฟล์ : PDF








*** คลิกที่นี่ เพื่อ "ดาวน์โหลด"
*** คลิกที่นี่ เพื่อ "ดาวน์โหลด"
*** คลิกที่นี่ เพื่อ "ดาวน์โหลด"
*** คลิกที่นี่ เพื่อ "ดาวน์โหลด"
*** คลิกที่นี่ เพื่อ "ดาวน์โหลด"
*** คลิกที่นี่ เพื่อ "ดาวน์โหลด"


------------------------------------------------------


วิธีดาวน์โหลด

         ในการดาวน์โหลดนั้นจะติดโฆษณา "ป็อปอัพ" 1ชั้น ทำให้กดปุ่มครั้งแรกจะเด้งไปเว็บอื่น ให้กดลิ้งค์นั้นอีกเป็นครั้งที่ 2 จึงจะไปที่ลิงค์โหลด ซึ่งครอบลิ้งค์ไว้ 1 ชั้น

ขั้นตอนที่1 หากใครใช้ ส่วนขยาย "AdBlock" ให้ปิดก่อนนะครับ




 ขั้นตอนที่2  ติ๊กถูกในช่อง "I'm not a robot"




 ขั้นตอนที่3  คลิกที่ ปุ่ม ชื่อว่า "Click hear to continue"




ขั้นตอนที่4  รอนับถอยหลัง "10วินาที"




ขั้นตอนที่5  คลิกที่ ปุ่ม ชื่อว่า "Get Link"




ขั้นตอนที่6  คลิกที่ ปุ่ม ชื่อว่า "Download"




------------------------------------------------------


วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

บ้านเราในเขต กฟน.,กฟภ. มีแรงดันเท่าไหร่กันแน่













------------------------------------------------------




Q : ไฟแรงต่ำ 3เฟส ในพื้นที่ กทม. เราควรคิดที่ 416V รึป่าว?

A : คิดทั้งหมดเป็น 400V เท่า กฟภ.


------------------------------------------------------


1) แรงดันนอมินอล ( Norminal Voltage ) หมายถึง ระดับแรงดันไฟฟ้าของระบบ เช่น 220V หรือ 380V

2) แรงดันใช้งาน ( Operating Voltage ) หมายถึง ระดับแรงดันไฟฟ้าของระบบที่วัดได้ขณะที่กำลังทำงาน หรือใช้งานในขณะ      
    นั้น เช่น 232V หรือ 405V

3) แรงดันที่กำหนด ( Rate Voltage ) หมายถึง ระดับแรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไว้ให้ใช้ เช่น 230/400V (กฟภ.) 
    หรือ 240/416V (กฟน.)


------------------------------------------------------

การทริปของเบรคเกอร์

Q : เซอร์กิตเบรคเกอร์ (CB) ทำงานอย่างไร

A : การทำงานของ CB จะแบ่งเป็นสองฟังก์ชั่นการทำงาน คือ Termal Trip และ Magnetic Trip

๐ Thermal unit ใช้สำหรับปลดวงจรเมื่อมีกระแสไหลอันเนื่องมาจาก การใช้โหลดมากเกินไป เมื่อมีกระแสไหลเกินไหลผ่านโลหะ bimetal (เป็นโลหะ 2 ชนิด ที่มีสัมประสิทธิ์ทางความร้อนไม่เท่ากัน) จะทำให้ bimetal โก่งตัวไปปลดอุปกรณ์ทางกล และทำให้ CB. ตัดวงจร เรียกว่าเกิดการ Trip การปลดวงจรแบบนี้ต้องอาศัยเวลาพอสมควร ขึ้นอยู่กับกระแสขณะนั้น และความร้อนที่เกิดขึ้น จนทำให้ bimetal โก่งตัว

๐ Magnetic unit ใช้สำหรับปลดวงจรเมื่อเกิดกระแสลัดวงจรหรือมี กระแสค่าสูงๆ ประมาณ 5-10 เท่าขึ้นไปไหลผ่าน (แล้วแต่ชนิดและรุ่น) กระแสจำนวนมากจะทำให้เกิด สนามแม่เหล็กความเข้มสูง ดึงให้อุปกรณ์การปลดวงจรทำงานได้ การตัดวงจรแบบนี้เร็วกว่าแบบแรกมาก


------------------------------------------------------


ทั้ง MCB และ MCCB จะมีฟังก์ชั่นการทำงาน สองสถานะ คือ Termal contrac trip กับ Magenic Trip






------------------------------------------------------


แต่ ACB จะมีฟังก์ชั่นการตัดวงจร โดยใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์โดยใน ACB จะมี CT อยู่ข้างใน ขั้วละตัวทำหน้าที่วัดกระแสไฟฟ้าแล้วนำมาประมวลผล






------------------------------------------------------


ดูจาก curve สมมุติ CB 100 AT จะไม่มีวันตัดที่กระแส 100 แอมป์ แล้วทำไมการคำนวณหาขนาด CB ถึงยังต้องให้คูณ 1.25 เผื่อให้สูงขึ้นไปอีก จากกระแสที่คำนวนได้




------------------------------------------------------


ตามมาตรฐานเบรคเกอร์ปัจจุบันผลิตตามาตรฐานของ IEC ซึ่งกำหนดไว้ว่า การที่เบรคเกอร์จะตัดที่สภาวะกระแสเกิน (Overload) จะไม่ใช่เกิดปุ๊บตัดปั๊บ Thermal contrac trip จำทำงานตามเงื่อนไขของความร้อน ต้องรอให้มันร้อน กระแสไหลมากก็จะร้อนมาก และจะตัดเร็วขึ้น แต่ถ้าเกิดลัดวงจร (Short circuit) อันนี้จะตัดด้วย Magnetic trip จะเร็วมาก





โดยในมาตรฐาน IEC60947-2 ที่เป็นมาตรฐานในการผลิตเบรคเกอร์ MCCB กำหนดค่ากระแสไว้ที่อุณหภูมิ 40 องศา (ซึ่งเป็นอุณหภูมิโดยรอบของห้อง)


------------------------------------------------------


เช่นหากเบรคเกอร์ MCCB 100A มีกระแสเกิน 105% (105A) จะใช้เวลาในการตัดมากกว่า 120นาที และถ้ากระแสเกิน 200% (200A) จะใช้เวลาตัดไม่เกิน8นาที




ทีนี้เมื่อเอาเบรคเกอร์มาใส่ หรือติดตั้งในห้องหรือตู้ที่มีอุณหภูมิ 50 องศา เบรคเกอร์ตัวดังกล่าวจะมีขนาดกระแสที่จะตัดต่ำลงเรียกว่า Derated ลงมาเป็น 90% ตามกราฟในรูป


คือเบรคเกอร์พิกัด100AT เมื่อมีกระแสเกิน 105A จะมีค่า Derated ลงมาเป็น 105 x 0.9 = 94.5A จะตัดภายใน 120 นาที และถ้ากระแสเกิน 130A ก็จะมีค่ากระแสในการตัดที่ 130 x 0.9 = 117A จะตัดในเวลาไม่เกิน 120 นาที ซึ่งก็มีค่าใกล้เคียงกับขนาดพิกัด CB ที่เราเลือก 100A อยู่แล้ว 


------------------------------------------------------


อีกเหตุผลที่จะอธิบายใน มาตรฐาน CB ของ Schneider บอกว่า หากเอา CB มาใส่ในตู้และมี CB หลายตัวนั้น ค่า Derated ของ CB จะลดลงเป็น 80% เนื่องจากอุณหภูมิ ดดยรวมและความร้อนของ CB ทุกตัวในตู้






ดังนั้นการที่เราคูณ 1.25 เผื่อที่ CB ตามมาตรฐานของ NEC กำหนดว่า CB จ่ายโหลดต่อเนื่องนั้น เมื่อเอา 100A x 1.25 x 0.8 ก็จะเท่ากับ 100A เช่นเดิมนะ


อย่าสงสัยว่าเวลาที่เบรคเกอร์มีกระแสไหลเกินพิกัดแล้วทำไมยังไม่ทรปซักที มันรอเวลาให้ร้อนก่อน

แล้วถามว่าสายไฟจะทนได้ไหม จริงๆแล้วสายไฟก็มี factor ที่มาตรฐานเผื่อมาให้เราใช้แล้วดังนั้น ด้วยเหตุผลเดียวกันค่ากระแสในตารางจึงเป็นแค่ค่าประมาณ หรือ Derate ลงมาตาม factor แล้ว


------------------------------------------------------

พิกัดอุณหถูมิเบรคเกอร์ทนได้

คำถาม 

CIRCUIT BREAKER บริเวณขั้ว Terminal ต่อสาย CB ชนิด MCCB สามารถทนอุณหภูมิได้กี่องศา? เช่น สาย CV (IEC 60502-1) ฉนวนเป็น PE ทนอุณหภูมิได้ 90 องศา ตัว Terminal CB สามรถรับได้สูงสุดกี่องศา? และเวลานานเท่าไหร่?

ตอบ


          เรื่องอุณหภูมิของฉนวนสาย CV ที่บอกว่าเมื่อมีกระแสเต็มพิกัดที่ Air Free จะมีอุณหภูมิที่ 90 องศานั้น ปกติเราจะ Derated กระแสพิกัดลงมาประมาณ 70% ซึ่งในสภาวะนั้นจะไม่ทำให้อุณหภูมิของสายสูงถึง 90 องศา
และในการดูว่าเบรคเกอร์ทนอุณหภูมิได้เท่าไหร่ หรือหากเราส่องกล้องแล้วอุณหภูมิที่ออกมามีค่าเท่าไหร่ ถึงจะทำให้ CB เสียหายจะต้องดู Temp rise ของ CB โดยจะระบุตำแหน่งต่างๆไว้ว่าจะต้องไม่เกินเท่าไหร่ โดยเรา Temp rise ในตาราง บวกด้วย อุณหภูมิโดยรอบ หากเกินถือว่าต้องแก้ไข ขั้นต้นอาจจะหลวมหรือเบรคเกอร์หน้าสัมผัสไม่ดี


------------------------------------------------------


         อันนี้เป็นตาราง Mitsubishi ซึ่งทดสอบตามมาตรฐาน IEC ใช้ได้กับทุกยี่ห้อ โดยเอาค่าอุณหภูมิในตาราง บวกอุณหภูมิโดยรวม นั่นคือพิกัดอุณหภูมิที่เบรคเกอร์ทนได้








------------------------------------------------------

Typical Form Separation ของตู้ MDB


Typical Form Separation

Form ตู้ตามมาตรฐาน IEC60439-1 (เก่า) และ IEC61439-2 (ใหม่)

• Form ตู้คือคุณลักษณะหรือรูปแบบการแบ่งกั้นแยกส่วนที่มีไฟฟ้า (Live Part) หรือส่วนที่เป็นอันตราย โดยใช้ Partitions กั้นแยกระหว่างอุปกรณ์หลักอย่างชัดเจน

• Form ตู้จะมีคุณสมบัติในการลดโอกาศการเกิดความผิดปกติ (Fault) อีกทั้งยังเป็นการจำกัดขอบเขต (Limit Fault) ที่อาจเกิดขึ้นไม่ให้ลุกลามไปยังช่องอื่นๆได้ภายในตู้สวิตซ์บอร์ด

ซึ่งการแยกส่วนภายในตู้จะพิจารณาดังนี้
- บัสบาร์
- อุปกรณ์หลัก
- ขั้วต่อสาย
- ตัวตู้

โดยมีการกำหนดรูปแบบการจัดส่วนกั้นของตู้ไว้ 7 ประเภท คือ
1) Form 1
2) Form 2a
3) Form 2b
4) Form 3a
5) Form 3b
6) Form 4a
7) Form 4b

------------------------------------------------------


Form 1
- ภายในตู้สวิตซ์บอร์ดจะไม่มีการกั้นช่องแบ่งแยกบัสบาร์ออกจากอุปกรณ์และขั่วต่อสายตัวนำภายนอกออกจากัน (คือในตู้ไม่มีส่วนกั้นเลย เปิดโปร่งถึงกันทุกส่วน)
- ตู้ Form นี้เหมาะกับงานควบคุมโหลดเฉพาะจุด
- กรณีเกิด Fault ขึ้นอาจจะได้รับความเสียหายทั้งหมด
- ต้องใช้เวลาในการซ่อมนานหรือเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด

------------------------------------------------------

Form 2a
- มี Partition กั้นแยกระหว่างช่องบัสบาร์ออกจากตัวอุปกรณ์ (Outgoing unit)
- แต่สำหรับขั้วต่อสายตัวนำภายนอก (Terminal for External Conductor) จะอยู่ภายในช่องเดียวกันกับบัสบาร์
- ตู้ Form นี้เหมาะกับงานควบคุมโหลดเฉพาะจุด และเริ่มนำมาประยุกต์ใช้เป็นตู้ Main DB ย่อย
- เหมาะกับงานอาคารที่มีโหลดไม่มากนัก ยอมรับได้ที่ต้องดับไฟทั้งตู้ เมื่อโหลดใด โหลดหนึ่งมีปัญหา
- กรณีเกิด Fault ขึ้นอาจจะได้รับความเสียหายบางส่วน เช่น บัสบาร์กับขั่วต่อสาย, อุปกรณ์ย่อย
- ต้องใช้เวลาในการซ่อมนานหรือเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด

------------------------------------------------------

Form 2b
- มี Partition กั้นแยกระหว่างช่องบัสบาร์ออกจากตัวอุปกรณ์ (Outgoing unit) และขั้วต่อสายตัวนำภายนอก (Terminal for External Conductor)
- แต่อุปกรณ์และขั่วต่อสายจะอยู่ภายในช่องเดียวกันโดยไม่มีการแบ่งกั้น
- ตู้ Form นี้เหมาะกับงานควบคุมโหลดเฉพาะจุด และเริ่มนำมาประยุกต์ใช้เป็นตู้ Main MDB
- เหมาะกับงานอาคารที่มีโหลดไม่มากนัก ยอมรับได้ที่ต้องดับไฟทั้งตู้ เมื่อโหลดใด โหลดหนึ่งมีปัญหา
- กรณีเกิด Fault ขึ้นอาจจะได้รับความเสียหายบางส่วน เช่น บัสบาร์กับขั่วต่อสาย, อุปกรณ์ย่อยในช่องเดียวกัน
- ต้องใช้เวลาในการซ่อมนานหรือเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด
- แต่มีความปลอดภัยสูงขึ้นกว่า Form 2a

------------------------------------------------------

Form 3a
- มี Partition กั้นแยกระหว่างช่องบัสบาร์ออกจากตัวอุปกรณ์ (Outgoing unit)
- มี Partition กั้นแยกอุปกรณ์ (Outgoing unit) แต่ละ Unit ออกจากกัน
- มี Partition กั้นแยกขั่วต่อสายตัวนำภายนอก (Terminal for External Conductor) ออกจากอุปกรณ์ (Outgoing unit) แต่จะอยู่ภายในช่องเดียวกัยกับบัสบาร์
- ตู้ Form นี้เหมาะกับงานควบคุมโหลดแบบต่อเนื่อง
- เหมาะกับงานอาคาร โรงงาน ที่มีโหลดมาก
- ไม่ต้องดับไฟทั้งตู้ เมื่อโหลดใด โหลดหนึ่งมีปัญหา
- กรณีเกิด Fault ขึ้นอาจจะได้รับความเสียหายบ้างส่วนเท่านั้น
- ใช้เวลาในการซ่อมน้อยหรืออาจจะไม่ต้องเปลี่ยน เพียงตรวจสอบแก้ไขก็สามารถจ่ายไฟได้ตามปกติ

------------------------------------------------------

Form 3b
- มี Partition กั้นแยกระหว่างช่องบัสบาร์ออกจากตัวอุปกรณ์ (Outgoing unit)
- มี Partition กั้นแยกอุปกรณ์ (Outgoing unit) แต่ละ Unit ออกจากกัน
- มี Partition กั้นแยกขั่วต่อสายตัวนำภายนอก (Terminal for External Conductor) ออกจากบัสบาร์และอุปกรณ์ (Outgoing unit) แต่ขั่วต่อสายดังกล่าวจะอยู่ภายในช่องเดียวกัน
- ตู้ Form นี้เหมาะกับงานควบคุมโหลดแบบต่อเนื่อง
- เหมาะกับงานอาคาร โรงงาน โรงไฟฟ้า อุตสหกรรมยานยนต์ ปิโตรเคมี และอื่นๆ ที่มีโหลดมาก
- ไม่ต้องดับไฟทั้งตู้ เมื่อโหลดใด โหลดหนึ่งมีปัญหา
- กรณีเกิด Fault ขึ้นอาจจะได้รับความเสียหายบ้างส่วนเท่านั้น
- ใช้เวลาในการซ่อมน้อยหรืออาจจะไม่ต้องเปลี่ยน เพียงตรวจสอบแก้ไขก็สามารถจ่ายไฟได้ตามปกติ

------------------------------------------------------

Form 4a
- มี Partition กั้นแยกอุปกรณ์ (Outgoing unit) แต่ละ Unit ออกจากกัน
- มี Partition กั้นแยกขั่วต่อสายตัวนำภายนอก (Terminal for External Conductor) ออกจากบัสบาร์ แต่ขั่วต่อสายดังกล่าวจะอยู่ภายในช่องเดียวกันอุปกรณ์
- มี Partition แยกระหว่างอุปกรณ์ออกจากบัสบาร์
- มี Partition แยกส่วนสำหรับตัวนำภายนอก (Terminal for External Conductor) แต่ละชุดออกจากัน

------------------------------------------------------

Form 4b
- มี Partition กั้นแยกอุปกรณ์ (Outgoing unit) แต่ละ Unit ออกจากกัน
- มี Partition แยกระหว่างอุปกรณ์ออกจากบัสบาร์
- มี Partition กั้นแยกขั่วต่อสายตัวนำภายนอก (Terminal for External Conductor) ออกจากบัสบาร์ และอุปกรณ์ (Outgoing unit) และแยก Feeder ออกจากกันอย่างชัดเจน

------------------------------------------------------